เมนู

[360] กุศลกรรมบถ 10


1. ปาณาติปาตา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการยังสัตว์มีชีวิต
ให้ตกล่วงไป
2. อทินนาทานา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของมิได้ให้
3. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการ
ประพฤติผิดในกาม
4. มุสาวาท เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเท็จ
5. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดส่อเสียด
6. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดคำหยาบ
7. สัมผัปปลาปา เวรมณี เจตนาเครื่องเว้น จากการพูดเพ้อเจ้อ
8. อนภิชฌา ความโลภอยากได้ของเขา
9. อัพยาบาท ความไม่ปองร้ายเขา
10. สัมมาทิฏฐิ ความเห็นชอบ.

[361] อริยวาส 10


ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
1. เป็นผู้มีองค์ห้าละขาดแล้ว
2. เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก
3. เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง
4. เป็นผู้มีที่พึ่งสี่
5. เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว
6. เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้แล้วโดยชอบ

7. เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว
8. เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบ
9. เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว
10. เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้นดีแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไรเล่า ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มี
องค์ห้าละขาดแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้
เป็นผู้มีกามฉันทะละได้ขาดแล้ว มีความพยาบาทละได้ขาดแล้ว มีถิ่นมิทธะ
ละได้ขาดแล้ว มีอุทธัจจกุกกุจจะละได้ขาดแล้ว มีวิจิกิจฉาละได้ขาดแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีองค์ห้าอันละ
ได้ขาดแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบ
ด้วยองค์หก. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เห็นรูป
ด้วยตาแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่.
ฟังเสียงด้วยหูแล้ว . . ดมกลิ่นด้วยจมูกแล้ว . . ลิ้มรสด้วยลิ้นแล้ว ...ถูกต้อง
โผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว . . รู้แจ้งธรรมด้วยใจแล้ว เป็นผู้ไม่ดีใจ ไม่เสียใจ
เป็นผู้วางเฉย มีสติสัมปชัญญะอยู่. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล
ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบด้วยองค์หก
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีอารักขา
อย่างหนึ่ง ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ ย่อม
ประกอบด้วยใจอันมีสติเป็นเครื่องคุ้มครอง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีอารักขาอย่างหนึ่ง.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีที่พึ่งสี่.

ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ พิจารณาแล้วเสพของ
อย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วอดกลั้นของอย่างหนึ่ง พิจารณาแล้วเว้นของอย่าง
หนึ่ง พิจารณาแล้วบรรเทาของอย่างหนึ่ง. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีที่พึ่งสี่
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีสัจจุ
เฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย สัจจะเฉพาะ
อย่างเป็นอันมาก ของสมณพราหมณ์เป็นอันมาก ย่อมเป็นธรรมอันภิกษุ
ในพระธรรมวินัยนี้ ทำให้เบาแล้ว บรรเทาแล้ว สละ คลาย ปล่อย ละ
สละคืนเสียหมดสิ้นแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า
เป็นผู้มีสัจจะเฉพาะอย่างอันบรรเทาเสียแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีการ
แสวงหาอันสละได้โดยชอบ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรม
วินัยนี้ เป็นผู้มีการแสวงหากามอันละได้แล้ว มีการแสวงหาภพอันละได้แล้ว
มีการแสวงหาพรหมจรรย์อันสละคืนแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีการแสวงหาอันสละได้โดยชอบ
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีความ
ไม่ขุ่นมัว ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เป็นผู้ละ
ความดำริในกามได้ขาดแล้ว เป็นผู้ละความดำริในพยาบาทได้ขาดแล้ว เป็น
ผู้ละความดำริในการเบียดเบียนได้ขาดแล้ว ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย
อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีความดำริไม่ขุ่นมัว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีกาย
สังขารอันสงบ ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ เข้า

ถึงจตุตถฌาน อันไม่มีทุกข์และสุข เพราะละสุขและทุกข์ และดับโสมนัส
โทมนัสก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ
ทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีกายสังขารอันสงบแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีจิตหลุดพ้น
ดีแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในพระธรรมวินัยนี้ มีจิตพ้นแล้ว
จากราคะ มีจิตพ้นแล้วจากโทสะ มีจิตพ้นแล้วจากโมหะ. ดูก่อนท่านผู้มี
อายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีจิตหลุดพ้นดีแล้ว.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ก็อย่างไร ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญา
หลุดพ้นดีแล้ว. ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมรู้
ชัดว่า ราคะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจ
ตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปอีกเป็น
ธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นเสียได้แล้ว กระทำให้เป็น
ดุจต้นตาลยอดด้วนแล้ว ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็น
ธรรมดา โทสะอันเราละได้แล้ว ถอนรากขึ้นได้แล้ว กระทำให้เป็นดุจ
ต้นตาลยอดด้วน ทำให้เป็นของไม่มีแล้ว มีอันไม่เกิดขึ้นต่อไปเป็นธรรมดา.
ดูก่อนท่านผู้มีอายุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุจึงชื่อว่า เป็นผู้มีปัญญาหลุดพ้น
ดีแล้ว.

[362] อเสขธรรม 10


1. สัมมาทิฏฐิที่เป็นของพระอเสขะ
2. สัมมาสังกัปปะที่เป็นของพระอเสขะ
3. สัมมาวาจาที่เป็นของพระอเสขะ